เมนู

อีกอย่างหนึ่ง แสดงความเพียรมีสัมปยุตด้วยมรรค ด้วยบทนี้. จริงอยู่ ความ
เพียรนั้น ชื่อว่า นิกขมะ เพราะเป็นความเพียรที่ได้แล้ว ด้วยการภาวนามั่นคง
และเพราะเป็นความเพียรที่ออกจากธรรมที่เป็นปฏิปักษ์โดยประการทั้งปวง
เพราะฉะนั้น แม้บุคคลผู้สมังคีด้วยความเพียรนั้น จึงชื่อว่า ทัฬหนิกกมะ
เพราะอรรถว่า บุคคลนั้นมีความบากบั่นมั่นคง.
บทว่า ถามพลุปปนฺโน ความว่า ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกาย และ
กำลังญาณ ในขณะแห่งมรรค. อีกอย่างหนึ่ง บุคคลใดถึงพร้อมแล้ว ด้วย
กำลังอันเป็นเรี่ยวแรง เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นชื่อว่า ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลัง
เรี่ยวแรง มีอธิบายว่า ไม่ถึงพร้อมแล้ว ด้วยกำลังญาณ. พระปัจเจกพุทธเจ้า
เมื่อจะแสดงการประกอบวิปัสสนาญาณ จึงยังความที่ความเพียรนั้นเป็นประธาน
ให้สำเร็จโดยแยบคาย ด้วยบทนี้. อีกอย่างหนึ่ง พึงประกอบบาทแม้ทั้งสาม
ด้วยอำนาจแห่งความเพียรที่เป็นเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่อุกฤษฏ์. บทที่เหลือ
มีนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
อารัทธวิริยคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 35


คาถาว่า ปฏิสลฺลานํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
คาถานี้มีอุบัติเช่นเดียวกับอาวรณคาถานั่นเทียว จึงไม่มีความแปลกกัน
อย่างใดเลย แต่พึงทราบวินิจฉัยในอัตถวัณณนา.
บทว่า ปฏิสลฺลานํ ได้แก่ การหมุนกลับจากสัตว์สังขารเหล่านั้น ๆ
แล้วหลีกเร้น อธิบายว่า ความคบคนผู้เดียว ความเป็นผู้มีคนเดียว กายวิเวก.

จิตวิเวกเรียกว่า ฌาน เพราะแผดเผาธรรมที่เป็นข้าศึก และเพราะ
เข้าไปเพ่งอารมณ์และลักษณะ. ในบทนั้น สมาบัติแปดเรียกว่า ฌาน เพราะ
แผดเผาธรรมอันเป็นข้าศึกมีนิวรณ์เป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งอารมณ์. ใน
คาถานี้ วิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่า ฌาน เพราะแผดเผาธรรมอันเป็น
ข้าศึกมีสัตตสัญญาเป็นต้น และเพราะเข้าไปเพ่งลักษณะนั่นเอง. แต่ในที่นี้
ท่านประสงค์เอาอารัมมณูปนิชฌานเท่านั้น ไม่ละ คือ ไม่สละ ไม่ปล่อยซึ่ง
การหลีกเร้นและฌานนั่น ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ธมฺเมสุ ความว่า ในธรรมมีเบญจขันธ์เป็นต้น ที่เข้าถึง
วิปัสสนา. บทว่า นิจฺจํ ได้แก่ เนืองนิตย์ สม่ำเสมอ บ่อย ๆ .
บทว่า อนุธมฺมจารี ความว่า ประพฤติวิปัสสนาธรรมอันไปตาม
เพราะปรารภธรรมเหล่านั้นเป็นไป. อีกอย่างหนึ่ง โลกุตรธรรม 9 ชื่อว่า
ธรรม. ธรรมอันอนุโลมแก่ธรรมเหล่านั้น ชื่อว่า อนุธรรม คำว่า อนุธรรม
นั่นเป็นชื่อของวิปัสสนา. ในคาถานั้น เมื่อควรจะกล่าว ธมฺมานํ นิจฺจํ
อนุธมฺมจารี
พระปัจเจกพุทธเจ้าก็กล่าวว่า ธมฺเมสุ ด้วยการเปลี่ยนวิภัตติ
เพื่อสะดวกแก่การผูกคาถา.
บทว่า อาทีนวํ สมฺมสิตา ภเวสุ ความว่า บุคคลพิจารณาเห็นโทษ
มีอาการไม่เที่ยงเป็นต้น ในภพทั้งสาม ด้วยวิปัสสนา กล่าวคือความเป็นผู้
ประพฤติตามธรรมนั้น พึงทราบว่า บรรลุแล้วซึ่งกายวิเวกและจิตวิเวกนี้
ด้วยปฏิปทา กล่าวคือวิปัสสนาอันถึงยอดอย่างนี้ พึงเที่ยวไปผู้เดียว พึงทราบ
การประกอบ ดังนี้แล.
ปฏิสัลลานคาถาวัณณนา จบบริบูรณ์

คาถาที่ 36


คาถาว่า ตณฺหกฺขยํ ดังนี้ มีอุบัติอย่างไร ?
ได้ยินว่า พระเจ้ากรุงพาราณสีพระองค์หนึ่ง ทรงกระทำประทักษิณ
พระนคร ด้วยราชานุภาพอันยิ่งใหญ่ สัตว์ทั้งหลายมีหัวใจหมุนไปแล้ว เพราะ
ความงามแห่งพระวรกายของท้าวเธอ จึงไปข้างหน้าบ้าง ไปข้างหลังบ้าง ไป
โดยข้างทั้งสองบ้าง ก็ยังกลับมาแหงนดูพระราชาพระองค์นั้นแล ก็ตามปกติ
แล้ว ชาวโลกไม่อิ่มในการดูพระพุทธเจ้า และในการดูพระจันทร์เพ็ญ สมุทร
และพระราชา.
ในขณะนั้น แม้ภรรยาของกุฎุมพีคนหนึ่ง ขึ้นปราสาทชั้นบน เปิด
หน้าต่าง ยืนแลดูอยู่ พระราชาพอทรงเห็นนางเท่านั้น ก็มีพระราชหฤทัย
ปฏิพัทธ์ จึงตรัสสั่งอำมาตย์ว่า ดูก่อนพนาย เจ้าจงรู้ก่อนว่า สตรีนี้มีสามีแล้ว
หรือยังไม่มีสามี. อำมาตย์นั้นไปแล้ว กลับมาทูลว่า มีสามีแล้ว พระเจ้าข้า.
ลำดับนั้น พระราชาทรงพระราชดำริว่า ก็สตรีนักฟ้อน 20,000 นาง
เหล่านี้ อภิรมย์เราคนเดียวเท่านั้น ดุจเหล่านางอัปสร บัดนี้ เรานั้นไม่ยินดี
ด้วยนางเหล่านั้น เกิดตัณหาในสตรีของบุรุษอื่น แม้ตัณหานั้นเกิดขึ้นก่อน ก็
จะฉุดไปสู่อบายเท่านั้น ดังนี้แล้ว ทรงเห็นโทษของตัณหาแล้ว ทรงพระราช
ดำริว่า เอาเถิด เราจะข่มตัณหานั้น ทรงสละราชสมบัติ ทรงผนวช เจริญ
วิปัสสนาอยู่ ก็ทรงกระทำให้แจ้ง ซึ่งปัจเจกโพธิญาณแล้ว จึงตรัสอุทานคาถา
นี้ว่า